ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

ตำบลตะลุโบะ แต่เดิมเป็นชุมชนแห่งนี้มีบึง ลำน้ำ ลำคลอง แม่น้ำตานี ที่ทอดยาวไปบรรจบกับ

ทะเล ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 7 เป็นพื้นราบตื้นเขินติดกับแม่น้ำ ลำคลองที่ลึกมาก ที่มีลักษณะน้ำวน เป็นบึ่งใหญ่ ซึ่งมีเรื่องราวเล่าขานกันมาเรื่อย ๆ มา บึ่งแห่งนี้เคยมีสัตว์น้ำ ตัวใหญ่ ทีมีชื่อว่า จระเข้เผือกอาศัยอยู่ ในแถบบริเวณที่ เรียกว่า บึงลูโบะ หรือภาษาท้องถิ่น(ยาวี) ว่า ตือลือโบะ และนับแต่นั้นมาในที่สุดเปลี่ยนเป็น ตะลุโบะ จนถึงปัจจุบันนี้

   ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ  อำเภอเมือง   จังหวัดปัตตานี  จัดตั้งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2539  หน้าที่  142  ลำดับที่  1411  เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง  ลงนามโดย นายเสนาะ   เทียนทอง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539

ทั้งนี้   ให้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  113  ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539

1. 

2  สภาพทางเศรษฐกิจ

การประกอบอาชีพของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ โดยส่วนใหญ่ยังยึดหลักการวิถีชีวิตแบบดั่งเดิมจะประกอบอาชีพหลัก ดังนี้

–          อาชีพเกษตรกรรมแบบผสมผสานอันได้แก่ การทำนาข้าวประจำปี ปลูกพืชผัก

สวนครัว การเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน และไร่สวนผสม

–          อาชีพทั่ว ได้แก่ รับจ้างทั่วไป อาชีพธุรกิจส่วนตัว  รับเหมา  ช่างบริการต่าง ๆ

–          อาชีพค้าขาย ประเภทต่าง ๆ

–          อาชีพอื่น ๆ

หน่วยธุรกิจในองค์การบริหารส่วนตำบลบานาอาชีพรับจ้าง
–  โรงงาน    1  แห่ง
–  บริษัท / ห้างร้าน / ร้านค้า 17 แห่ง
–  ปั๊มน้ำมัน/แก็ส  3  แห่ง

3. สภาพทางสังคม

ตำบลตะลุโบะมีโครงสร้างการบริหารส่วนราชการต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะโดยภายใต้การกำกับดูแลระดับอำเภอและจังหวัดดังนี้

3.1   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพฐ)  ได้แก่

โรงเรียนชุมชนบ้านตะลุโบะ         หมู่ที่    2        บ้านแบรอจะรัง

โรงเรียนบ้านจะรังบองอ             หมู่ที่    5        บ้านปากา

 

3.2   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเอกชน   ได้แก่

โรงเรียนสอนศาสนา       จำนวน    2    แห่ง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก         จำนวน   2   แห่ง

 

3.3   สถาบันและองค์กรทางศาสนาอันเป็นสาธารณประโยชน์

–  มูลนิธิเด็กกำพร้า                  จำนวน           1        แห่ง

–  มัสยิด                             จำนวน           7        แห่ง

–  สุเหร่า                             จำนวน           2        แห่ง

–   ศูนย์ตาดีกาจังหวัดปัตตานี             จำนวน               1          แห่ง

3.4 สำนักงานบริการสาธารณสุขอำเภอ/จังหวัด

-โรงพยาบาลศูนย์ส่งเสริมสุขภาพตำบล                         จำนวน    1    แห่ง

– อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำของชุมชน จำนวน              ร้อยละ    100

 

3.5  สำนักงานส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ได้แก่

– กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง          หมู่ที่    1   บ้านแบรอ

– ศูนย์ถ่ายทอดการเกษตรประหมู่บ้าน

 

3.6   การบริหารราชการปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  ได้แก่

– ศูนย์บริหารราชการระดับตำบล (กรมการปกครอง)

– องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)

4. ประเพณีสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ตำบลตะลุโบะ

ประเพณีของท้องถิ่น ถือเป็นแบบฉบับที่สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน คือสิ่งที่ต้องทราบ

ความเป็นรากเง้าเพื่อสืบสานแบบอย่างอันดีงามนี้แก่ชนรุ่นหลัง ซึ่งประชากรของตำบลตะลุโบะโดยส่วนใหญ่แล้ว

นับถือศาสนาอิสลามที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติและการใช้

ชีวิตประจำวันของชุมชนตำบลตะลุโบะ อันได้แก่

ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น

     – ประเพณีแต่งงาน ชาวไทยมุสลิมท้องถิ่นภาคใต้ มีประเพณีการแต่งงานต่างจากชาวไทยพุทธทั้งเพราะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามศาสนบัญญัติจะละเมิดไม่ได้   การเลือกคู่ครองของไทยมุสลิมต้องเป็นไปตามศาสนบัญญัติที่ว่า ต้องแต่งงานกับคนที่เป็นมุสลิมด้วยกันเท่านั้น ในกรณีที่เป็นคนนอกศาสนา จะต้องให้เข้านับถือสาสนาอิสลามเสียก่อน การกระทำพิธีของไทยมุสลิมก็ยึดถือปฏิบัติ กฎ และหลักเกณฑ์ตามลัทธิอิสลาม ซึ่งมีข้อแตกต่าง จากชาวไทยพุทธ คือ ผู้ชายที่สามารถแต่งงานกับผู้หญิงได้ในขณะเดียวกัน 4 คน แต่มีข้อแม้คือจะต้องดูแลได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยเหลือหญิงหม้าย หญิงอนาถา และยังมีข้อบังคับต่าง ๆ เช่น ถ้าสามีออกจากบ้านเกิน 3 วัน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยาฟ้องร้องต่อคณะกรรมการอิสลามก็ต้องมีการพิจารณาและสามีจะต้องให้เงินค่าเลี้ยงดู หรือสามีออกจากบ้านเกิน 6  เดือน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยา ถือว่าหมดสภาพการเป็นสามี ภรรยา การทำพิธีแต่งงานก็ต้องมีการลงชื่อ โต๊ะอีหม่าม เจ้าบ่าว เจ้าสาว บิดาฝ่ายหญิง และพยาน ในหนังสือสำคัญเพื่อเป็นหลักฐาน อันเป็นพิธีเสร็จสมบูรณ์ การแต่งงานตามประเพณีนิยมในหมู่บ้าน และจะมีพิธีจัดงานเลี้ยงแต่งงาน (มาแกปูโละ ) เริ่มตั้งแต่การแห่ขันหมากและแห่เจ้าบ่าวไปยังบ้านเจ้าสาวจะมีหรือไม่ก้อได้ ขันหมากที่สำคัญๆ ประกอบด้วยเงินหรือของ “มะฮัร” ขันหมาก ขันพลู ขันขงหมั่น(หากหมั่นกับแต่งงานเป็นวันเดียวกัน) นอกจากนั้นก้อเป็นขนมต่าง ๆ ซึ่ง ฝ่ายหญิงจะเชิญญาติบิดามารดามาร่วมพิธีเรียกว่า “มาแกปูโล๊ะ” (กินเหนียว) ส่วนฝ่ายชายจะเชิญญาติมิตรฝ่ายตน เรียกว่า เชิญมา “มางือนา”  คือเชิญมารู้จักเจ้าสาวและก็มีการร่วมรับประทานอาหารกัน

                   – มาแกปูโละ เป็นภาษามลายูท้องถิ่นของ 3 จังหวัดชายภาคใต้ ตรงกับภาษาไทย ว่า“กินเหนียว”นิยมทำกันทั้งไทยพุทธและชาวมุสลิมภาคใต้ หมายถึงงานกินเลี้ยงใน งานแต่งงาน งานเข้าสุนัด หรือหาเงินกิจกรรมอะไรสักอย่างก้อได้ หากแต่ไปกินข้าเจ้าเหมือนงานกินเลี้ยง ทั่วไป โดยสันนิฐาน เดิมคงกินข้าวเหนียวกันจริง ๆ เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปกลายเป็นข้าวเจ้าจนถึงทุกวันนี้

– ประเพณีการเกิด  ของชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่จะคล้ายกับชาวไทยพุทธ แต่เดิมมีหญิงครรถ์จะฝากครรถ์และทำคลอดกับหมอตำแย ซึ่งเรียกว่า “มะบีแดหรือโตะบิแด” เมื่อมารดาคลอดบุตรแล้ว สามีหรือผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาจะ “อาซัน” หรือ “บัง” (พูดกรอกหู)  ให้กับทารก  โดยจะกล่าวข้อความเกี่ยวกับการรำลึกถึงองค์อัลลอฮ.   และนบีมูฮัมหมัด ผู้เป็นศาสดาของศาสนาอิสลาม หลังจากทารกคลอดแล้วประมาณ 7 วัน ก็จะมีพิธีโกนผมไฟ ตั้งชื่อและอากีกะห์ ซึ่งจะกระทำไปพร้อมกันในคราวเดียวกันก็ได้ แต่ปัจจุบันประชาชนได้รับการศึกษามากขึ้นและวิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าขึ้น หญิงมีครรถ์จึงเปลี่ยนมาฝากครรถ์และทำคลอดกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่จนถึงปัจจุบัน

– ประเพณีเข้าสุนัด  (มาโซะยาวี) เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของอิสลาม ที่มุสลิมทุกคนถือปฺฎิบัติกันอย่างเคร่งครัด คำว่า “มาโวะยาวี” เป็นภาษามลายูถิ่น หมายถึง การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ พิธีนี้มิได้ทำเฉพาะคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดชายใต้เท่านั้น แม้ชาวยิวและคริสเตียนก็เคยถือปฏิบัติกันมาก่อนแต่มาเลิกรากันไปในภายหลังเช่นเดียวกับศาสนาอื่น ๆ มาโวะยาวี  จะทำกันในวันเด็ก มุสลิมบางประเทศ เช่นอาหรับ นิยมทำหลังคลอดไม่กี่วัน และจะนิยมทำกันในท้องถิ่นบ้านเราเมื่อเด็กอายุประมาณ 13-15 ปี โดยถือปฏิบัติแนวทางหรือแบบที่ปฏิบัติตามท่านนบี ท่านเคยได้กระทำมาแล้วและสำหรับการใช้คำที่แทน”การเข้าอิสลาม” หรือ พิธีขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย “ซึ่งคำว่ามาโ ซะยาวีใช้กับคนที่ไม่ใช่เป็นมุสลิม” เข้านับถืออิสลาม ส่วนสุนัดเป็นพิธีพึงปฏิบัติส่วนผู้ที่ทำการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ คือ มูดีน

– ประเพณีการกวนอาซูรอ เป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม

คำว่า “ อาซูรฮ” เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ 10 ของเดือนมูฮารอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ชาวบ้านนิยมกวนอาซูรอกันในเดือนนี้ จึงเรียกกันว่า ขนมบูโบ ก็คือขนมที่กวน ๆ เละๆ เข้ากัน บูโบซูรอ จึงหมายถึง  ขนมอย่างหนึ่ง ที่ทำขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันอาซูรอ  ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยนบีนูฮ (โนอา) ครั้งที่เกิดน้ำท่วมโลก ที่ไม่มีอะไรจะกินท่านก้อได้นำทรัยพ์สินที่กินได้มารวมๆ แล้วทำเป็นอาหารประทังชีวิต บางท่านที่เป็นนักวิชาการอ้างว่า บูโบซูรอนี้เกิดขึ้นครั้งเมื่อสงครามอัล-อะห์ซาบในสมัยนบีมูอำหมัดโดยท่านถูกปิดล้อมและไม่สามารถติดต่อกับภายนอกจึงไม่มีอาหารกิน ท่านเลยสั่งมาให้นำสิ่งที่กินได้มารวมๆกันเป็นอาหารสำหรับหล่อเลี้ยงชีวิตเช่นกัน จึงไม่เกี่ยวข้องกับหลักศาสนาอิสลามและไม่ใช่ศาสนปฏิบัติ เพียงแค่รำลึกถึงประวัติศาสาตร์ของท่านนบี ศาสดา การทำบูโบซูรอจึงถือเป็นปรเพณีอย่างหนึ่งของชนชาวไทยมุสลิมจวบจนปัจจุบัน

          – ประเพณีการทำศพ การทำศพในศาสนาอิสลาม 4 ประเภท

1. การอาบน้ำศพ ชาหิต จะห้ามอาบน้ำศพและละหมาด ให้นำศพไปฝังได้เลยเพราะถือว่าเป็นศพที่ดีในทางหลักการ และถ้าศพตายปกติ ศพทารก และศพที่ตายอย่างกระทันหันจะมีการอาบน้ำ

2 การห่อศพ  ศพชายห่อ 1-3 ชั้น ส่วนศพผู้หญิงห่อ 5 ชั้น

3 การละหมาดให้ศพ ผู้ทำพิธีต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป

4. การฝังศพ ชาวไทยมุสลิมจะมีการฝังศพอย่างเดียวไม่มีการเผา โดยจะวางศพให้นอนตะแคงไหล่ขวาลง โดยหันหน้าไปทางอัลกะบะฮ ณ นครเมกกะ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทย

          – การบริจาคซากาต เป็นเรื่องการทำบุญไม่ใช่ประเพณี แต่เป็นเรื่องทางศาสนา ซึ่งการบริจาคซากาตนี้ชาวมุสลิมทั้งหลายบริจาคทรัพย์สินที่เหลือใช้ให้แก่ผู้ยากจน ผู้ซึ่งมีสิทธิรับบริจาคซากาต คือ คนอนาถา ผู้ขัดสน เจ้าหน้าที่รัฐบาลได้รับแต่งตั้งให้รวบรวมซากาต ผู้เลื่อมใสนับถือศาสนาอิสลามระยแรก แต่มีความยากจน ทาสที่นายทุนทำสัญญาให้ไปหาเงินค่าไถ่ต้องปลดปล่อยเป็นไท

นอกจากนี้ ยังมีวันสำคัญในศาสนาอิสลามตามคตินิยมของไทยมุสลิมภาคใต้

1.วันศุกร์ ชายมุสลิมจะต้องทำพิธีละหมาดที่มัสยิด โดยจะทำพิธีในตอนบ่าย โดยมี

“คอเต็บ”ของมัสยิดเป็นองค์ปาฐกฐา ซึ่งถ้าไปไม่ถึง 3 ครั้ง ติดต่อกันถือว่า ยกเว้นผู้ที่เจ็บป่วยได้ไข้

2. เดือนถือศิลอด  ในเดือนที่ 9 ของปฏิทินอาหรับ เพื่อให้เห็นถึงความหิวจะได้มีจิตใจเห็นอก

เห็นใจผู้อื่นด้วยและมีชื่อเรียกว่าเดือน “รอมฎอน”การถือศีลอดของชาวมุสลิมจึงเป็นการปฏิบัติศาสนพิธีที่มีเนื้อหาสาระเพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้ปฏิบัติให้ผ่องแผ้ว ด้วยการพากเพียรต่ออุปสรรคและความยากลำบาก เหน็จเหนื่อย เพื่อให้มีจิตใจมุ่งมั่น หนักแน่น และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กัน และมุ่งเน้นให้สามารถปฏิบัติได้ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เพียงแต่เดือนรอมฎอนเพียงเท่านั้น อันเป็นกุญแจสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ต้องอาศัยความเกื้อกูล และไมตรีจิตต่อกันนั่นเอง วันปอซอ (วันถือศีลอด) ชาวมุสลิมจะต้องถือศีลอด คือ ไม่กินอาหารและไม่ให้สิ่งใด ๆ เข้าไปในร่างกายตั้งแต่รุ่งสางจนถึงตะวันพลบค่ำเป็นเวลา 1 เดือน

3. วันตรุษอีดหรือวันอีดหรือวันฮารีรายอปอซอ เป็นวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลาม โดยใน

วันนี้จะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ร่วมกันทำพิธีละหมาดวันอีดที่สนามหรือในมัสยิด เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง รับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น มุสลิมที่พูดภาษามลายูจะเรียกวันนี้ว่า ฮารีรายอ (ภาษามลายูปัตตานี ) หรือ Hari Raya ในภาษามลายูกลาง แปลว่า วันใหญ่ หรือ วันอีด (ทับศัพท์จากภาษาอาหรับ) ใน อินโดนีเซีย จะเรียกว่า ฮารีเลอบาราน ศาสนพิธีตรุษอิดิลฟิตรี ปฏิบัติกันตามหัวเมืองทั่ว ๆ ไป วันอีดมี 2 วันในแต่ละปีคือ 1. อีดุลฟิฏริ (สะกดไม่มาตรฐาน อีดิลฟิตรี) ในวันที่ 1 เชาวาล จะมีเลี้ยงอาหารให้แก่ญาติมิตร หลังจากนมาซอีด 2. อีดุลอัฎหา หรือสะกด อีดุลอัฎฮา ในวันที่ 10 ซุลหิจญะฮฺ จะมีการเชือดสัตว์พลี (กุรบาน)และเลี้ยงอาหารให้แก่ญาติมิตร หลังจากนมาซอีด ในวันอีดจะมีการประกอบศาสนกิจ(จังหวัด สงขลาจังหวัด ปัตตานี จังหวัด นราธิวาส จังหวัด ยะลา จังหวัดสตูล เป็นส่วนใหญ่ และจังหวัดอื่น ๆ ตามกันไป มีหลักการว่าพระราชพิธีตรุษอีด จะประกอบในประเทศมาเลเซีย บรูไน ซาอุดิอารเบีย กาตาร์ โอมาน และประเทศอื่น ๆ ที่มีประชากรมุสลิมจำนวนมาก

โดยมีพระมหากษัตริย์ในประเทศนั้นจะเสด็จเป็นองค์ประธานด้วยพระองค์เอง สำหรับ อินโดนีเซีย ก็มีการเฉลิมฉลองเช่นเดียวกัน โดยทางรัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการต่อเนื่องกันนานหลายวัน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่นายจ้างจะให้โบนัสแก่ลูกจ้างในเทศกาลนี้ และอนุญาตให้เดินทางกลับภูมิลำเนาได้

4. วันอีดิ้ลอัฎฮา ตรงกับวันที่ ๑๐ เดือนซุลฮิญญะห์ ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ (ฮ.ศ.1431) วันตรุษอีดิ๊ลอัฎฮาเป็นคำภาษาอาหรับ มาจากคำว่า อีด แปลว่า  รื่นเริง  เฉลิมฉลอง และอัฎฮา แปลว่าเชือดสัตว์พลีทาน  ดังนั้น วันตรุษอีดี้ิ๊ลอัฎฮา จึงหมายถึง วันเฉลิมฉลองการ เชือดสัตว์เพื่อพลีทานจากท่านอิบนี่อับบาสเล่าว่า ท่านรอซู้ลลุลเลาะฮ์หรือศาสดาทรงกล่าวว่า ในวันอีดิ้ลอัดฎาไม่มีการภักดีใดๆของมนุษย์ จะเป็นที่โปรดปรานรักใคร่ของอัลลอฮ์ ดียิ่งไปกว่าการทำ กุรบาน ตามประวัติศาสตร์อิสลามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์กุรอานอัลลอฮฺทรงต้องการ ที่จะทดสอบความศรัทธาของนบีอิบรอฮีม (หรืออับราฮัม) ดังนั้น คืนหนึ่งอัลลอฮฺจึงได้ทรงทำให้นบีอิบรอฮีม ฝันว่าพระองค์ทรงมีบัญชาให้ท่านเชือดอิสมาอีล ลูกชายของท่านเป็นการพลีถวายให้แก่พระองค์ นบีอิบรอฮีมจึงได้นำอิสมาอีลไปยังสถานที่แห่งหนึ่งเพื่อทำตามคำสั่งของอัลลอฮฺ เมื่อมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งนบีอิบรอฮีม จะใช้เป็นที่เชือดบุตรและเตรียมจะลงมือเชือด อัลลอฮฺก็ทรงเห็นว่านบีอิบรอฮีมเป็นผู้ศรัทธาที่พร้อมจะ ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์จริง พระองค์จึงได้มีบัญชาให้นบีอิบรอฮีมเชือดแกะหรือแพะแทน ลูกชายของท่าน การเชือดสัตว์พลีจึงเป็นที่ปฏิบัติอย่างหนึ่งในการประกอบพิธีฮัจญ์ ทั่งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มุสลิมได้รำลึกถึงวีรประวัติแห่งความศรัทธาต่อพระเจ้าและการเสียสละ อันสูงส่งของนบีอิบรอฮีมและนบีอิสมาอีลกุรฺบาน (อุฎฮียะฮฺ) หมายถึงการเชือดอูฐ, วัว(ควาย) แพะ หรือ แกะในวันอีดอัฎฮา และวันตัชรีกฺ (หลังวันอีดอัฎฮา 3 วัน) เพื่อทำการใกล้ชิดพระองค์อัลลอฮฺอัลฮัดย์ คือ ปศุสัตว์ที่ถูกมอบพลีให้แก่เขตหะร็อมมักกะฮฺ โดยหวังในผลบุญแห่งอัลลอฮฺตะอาลา รวมไปถึงปศุสัตว์ที่เป็นค่าชดเชย อันเนื่องจากการประกอบธีหัจญ์แบบตะมัตตุอฺ หรือกิรอน หรือมีอุปสรรคกีดกัน อัลอุฎหิยะฮฺ คือ อูฐวัว หรือแพะ ที่เชือดในช่วงอีดอัฎหาเพื่อหวังในผลบุญแห่งอัลลอฮฺตะอาลา กำหนดเวลาการทำ กุรบาน เริ่มเชือดกุรบานได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นของเช้าวันอีดิลอัฎฮา(หลังละหมาด) จนถึงเวลาละหมาดอัสรีของวันที่ 4 ของวันอีดรวม  3  วัน (วันอีด 1 วันตัสริก 3 วัน) แต่ระยะเวลาที่ดีเยี่ยมควรเชือดกุรบาน คือ หลังจากเสร็จการละหมาดอีดิลอัฎแล้วการเชือดควรให้เจ้าของเป็นผู้เชือดเอง หากจะมอบให้ผู้อื่นเชือดก็ควรดูการเชือดด้วย การแจกจ่ายเนื้อกุรฺบานมีสุนะฮฺให้ผู้ทำกุรุบานรับประทานเนื้อของสัตว์กุรฺบาน และนำไปแจกจ่ายให้แก่ญาติสนิท แก่ผู้ยากจนขัดสน (และมุสลิมทั่วไป)

Scroll to Top